เด็กขี้อาย พบเจอได้บ่อยซึ่งอาจเกิดจากอุปนิสัยของตัวเองหรือการเลี้ยงดูของพ่อแม่ พ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการเอาใจใส่และสนับสนุนให้ลูกมีความกล้าอย่างเหมาะสม มีสาเหตุและการฝึกให้มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น หากพ่อแม่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและเสริมความมั่นใจให้ลูกได้ด้วยตัวเอง การปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำอาจช่วยให้พ่อแม่รับมือกับปัญหาลูกขี้อายได้ดีขึ้น และทำให้ลูกสามารถใช้ชีวิตต่อไปในสังคมได้อย่างมีความสุข

เด็กขี้อาย มีอาการแบบไหน

เด็กขี้อาย หรืออาการที่เรียกว่า Shyness Problem in Children เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กบางคน ส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นในช่วงอายุ 4-5 ขวบ และหากยังขี้อายอยู่แต่ไม่เกิน 10 ขวบถือว่าเป็นเรื่องปกติ และคุณพ่อ คุณแม่ก็สามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกน้อยได้ ด้วยเคล็ดลับหลากหลาย

สาเหตุที่ทำให้เด็กขี้อายไม่กล้าแสดงออก

นิสัยของเด็กขี้อายอาจเกิดจากปัจจัยภายในอย่างลักษณะนิสัยส่วนตัว หรือปัจจัยภายนอกอย่างการเลี้ยงดูและสภาพสังคมที่เด็กเติบโตมา เด็กบางคนอาจมีนิสัยขี้อายที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งสันนิษฐานว่าพันธุกรรมมีผลต่อนิสัยของเด็ก โดยเด็กทารกประมาณร้อยละ 15 มีแนวโน้มที่จะมีนิสัยขี้อาย และทารกที่มีนิสัยหวาดกลัวและร้องไห้ง่ายอาจมีนิสัยขี้อายเมื่อเติบโตขึ้น

นอกจากนี้ พ่อแม่ที่มีนิสัยขี้อายหรือปกป้องลูกมากเกินไป (Overprotective Parents) มักเข้าไปกำกับและจัดการการใช้ชีวิตของลูก ทำให้ลูกไม่กล้าตัดสินใจหรือลงมือทำสิ่งต่างๆ และปรับตัวในการเข้าสังคมได้ยาก จึงอาจทำให้เด็กขี้อาย รวมถึงการเติบโตมาในสภาพสังคมที่มีการกลั่นแกล้ง (Bully) จากญาติหรือเพื่อนที่โรงเรียน ทั้งการทำร้ายร่างกาย การพูดล้อเลียน ใส่ร้าย หรือนินทา อาจทำให้เด็กหวาดกลัว วิตกกังวล และกลัวการเข้าสังคมได้

สาเหตุที่ทำให้เด็กขี้อายแบ่งเป็น 2 ข้อ

1. เด็กขี้อาย มีความกังวลภายนอก

การที่เด็กขี้อาย มักเป็นการแสดงที่เกิดจากการที่เด็กๆ อาจพบเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้เขารู้สึกกังวล แต่ก็ไม่ได้กล้าแสดงอาการออกมา เช่น พบเจอกับญาติที่ดูดุ หรือคุณครูที่ดุ จนไม่กล้าพูดคุยด้วย หรือกล้าถามคำถาม เป็นต้น

2. เด็กขี้อาย มีความกังวลภายในใจ

จากปัจจัยภายนอก ทำให้ลูกมีความกังวลภายในจนไม่กล้าพูดสิ่งที่ตัวเองคิด เพราะกลัวว่า หากทำไปแล้วจะออกมาไม่ดีหรือเปล่า จนทำให้ในบางครั้งก็ไม่อยากทำอะไรเลยเพราะกลัวทำไปแล้วจะผิดพลาด

เทคนิคเพิ่มความมั่นใจให้เด็กขี้อาย

พ่อแม่ควรให้เวลาลูกในการปรับตัวเข้ากับคนหรือสถานที่ใหม่ๆ โดยไม่ใช้คำพูดให้ลูกรู้สึกไม่ดี และสอนให้ลูกมีทักษะในการเข้าสังคมด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ไม่ควรล้อเลียนหรือตำหนิเมื่อเด็กขี้อาย

ไม่กล้าเข้าหาผู้อื่น และระมัดระวังเมื่อคนใกล้ชิด อย่างเพื่อนที่โรงเรียนหรือญาติ กลั่นแกล้งและเรียกลูกว่าเป็นเด็กขี้อาย เพราะอาจเป็นการสร้างบาดแผลในใจของลูก และยิ่งสร้างความรู้สึกไม่มั่นใจในการเข้าสังคม

  • กระตุ้นให้ลูกเล่าเรื่องที่ไม่สบายใจ

และเล่าเหตุผลที่ทำให้ไม่กล้าทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ ให้ฟัง โดยไม่คาดคั้นและให้ลูกเล่าเมื่อรู้สึกพร้อม ทั้งนี้ พ่อแม่อาจเล่าประสบการณ์ตัวเองและวิธีรับมือกับเรื่องน่าอายให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าความรู้สึกอายเกิดขึ้นได้กับทุกคนและเป็นสิ่งที่แก้ไขได้

  • ฝึกให้ลูกทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นบ่อยๆ

เมื่อเด็กขี้อาย ให้ออกไปทำกิจกรรมข้างนอก เช่น ออกไปวิ่งเล่น เล่นกีฬากลางแจ้ง หรือไปร่วมงานเลี้ยงที่บ้านเพื่อน เป็นต้น

  • เมื่อลูกไปทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสถานที่ใหม่

พ่อแม่อาจพาลูกเดินไปด้วยกันและอยู่ใกล้ๆ ลูกจนกว่าลูกจะรู้สึกคุ้นเคย จากนั้นค่อยๆ เว้นระยะและสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ

  • สอนให้ลูกออกความคิดเห็นของตนเองในเวลาที่เหมาะสม

โดยอาจเริ่มจากการกล่าวเสริมความคิดเห็นเมื่อเพื่อนในกลุ่มเว้นจังหวะในการพูดคุย และค่อยๆ ฝึกให้ลูกเริ่มเสนอหัวข้อใหม่ที่สนใจในการพูดคุยกับเพื่อน

  • ฝึกทักษะในการเข้าสังคม

เช่น สอนให้ลูกสั่งอาหารที่อยากรับประทานเอง เลือกของที่ต้องการและนำไปจ่ายเงินด้วยตัวเอง และฝึกการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน เป็นต้น

  • ไม่เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น

เมื่อลูกเปนเด็กขี้อาย แล้วพยายามปรับเปลี่ยนตัวเองพ่อแม่ควรชื่นชมเมื่อลูกเริ่มแสดงความกล้า การชมเชยในเรื่องเล็กน้อยจะเป็นแรงผลักดันให้ลูกไม่เขินอายและกล้าทำสิ่งที่ยากขึ้นได้

เด็กขี้อาย

ฝึกเด็กขี้อายให้กล้าแสดงออก

1. พาลูกออกไปพบเจอผู้คน

การที่ลูกเป็นเด็กขี้อาย กิจกรรมที่ช่วยฝึกลูกให้กล้าแสดงออกมากขึ้นคือการพบเจอผู้คน คุณพ่อคุณแม่พาลูกออกไปเจอผู้คนบ่อยๆ สร้างโอกาสให้ลูกได้ทดลองกับหลากหลายสังคม อาจจะเริ่มจากญาติผู้ใหญ่ในบ้าน แล้วค่อยเพิ่มไปเป็นเพื่อนของคุณพ่อคุณแม่เอง ผลักดันส่งลูกเข้าประกวดในกิจกรรมต่างๆ ถือเป็นการฝึกให้ลูกได้พบเจอกับคนมากขึ้น

2. สอนให้ลูกแนะนำตัว

คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกมีวิธีแนะนำตัวเอง หากต้องออกไปพบเจอกับคนมากๆ ให้หัดพูดเป็นประโยคสั้นๆ เช่น สวัสดีครับ/ค่ะ ผม/หนูชื่อ………เรียนอยู่………………..แล้วคุณน้าชื่ออะไรหรอครับ/คะ เพื่อให้ลูกได้ฝึกทักษะในการเข้าสังคม และเริ่มพูดคุยกับคนอื่นๆ ได้

3. ฝึกลูกด้วยการจำลองสถานการณ์จริง

ให้คุณพ่อ คุณแม่ และลูก ลองเล่นเป็นตัวละคร ในบทบาทที่แตกต่างกันไป และลองช่วยคิดคำพูดให้ลูก จากเด็กขี้อายให้ลูกกล้าแสดงออกมายิ่งขึ้น เช่น คุณพ่อ รับบทเป็น คุณลุงที่ดูดุ คุณแม่คอยแนะนำวิธีทำให้ลูกกล้าคุยกับคุณลุง เช่น ถ้าเจอคุณลุง ให้เรายกมือไหว้และพูดว่า “สวัสดีค่ะ คุณลุงสบายดีไหมคะ” เป็นการฝึกให้ลูกได้กล้าที่จะพูดกับคนอื่นก่อน จากการจำลองสถานการณ์จริง คุณแม่สามารถสอดแทรกแนวทางการแก้ปัญหา พยายามให้การเล่นนี้ไม่ยาว และซับซ้อนจนเกินไป จะเป็นอีกหนึ่งทางที่จะสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และเป็นการช่วยทำให้ลูกกล้าแสดงออกได้มากขึ้นอีก

4. ชื่นชมลูกเมื่อลูกพยายามจะทำอะไรด้วยตัวเอง

เมื่อลูกพยายามตั้งใจที่จะทำอะไรบางอย่างด้วยตัวเอง หรือในบางครั้งเขาทำสำเร็จ ให้คุณพ่อคุณแม่ชื่นชม และให้กำลังใจเขาอยู่เสมอ แม้อาจจะดูเป็นเรื่องที่ง่ายในสายตาของผู้ใหญ่ แต่สำหรับลูกถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีในชีวิตมากๆ

5. ปล่อยให้ลูกลองทำ และเรียนรู้ด้วยตัวเอง

การปล่อยให้ลูกลองทำอะไรด้วยตัวเองบ้าง จะทำให้ลูกกล้าตัดสินใจเองก็มีส่วนช่วยในการฝึกลูกให้กล้าแสดงออกและสามารถปรับตัวกับการแก้ปัญหาเองได้มากขึ้น

6. ให้ลูกลองทำงานบ้าน

คุณพ่อคุณแม่อาจจะมอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกทำ เมื่อเขาได้ลองทำ เขาจะรู้สึกภาคภูมิใจที่เขาช่วยคุณพ่อคุณแม่ของเขาได้ ถือเป็นการสร้างความมั่นใจ ฝึกความรับผิดชอบ ทำให้เขากล้าที่จะยื่นมือไปช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ที่เขาเจอ เป็นการผลักดันให้ลูกกล้าที่จะแสดงออก และไม่ขี้อาย

7. เล่นกีฬาเป็นทีม

ปัญหาของการที่เด็กขี้อายคือปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น ดังนั้นการฝึกให้เด็กกล้าแสดงออกด้วยการเล่นกีฬาเป็นทีมช่วยแก้ปัญหาได้อย่างมาก เพราะสิ่งแรกที่จะต้องเกิดขึ้นคือเรื่องการสื่อสารกับเพื่อน เช่น ใครจะเล่นตำแหน่งไหน หรือใช้กลยุทธ์ไหนในการเล่น เป็นต้น จะทำให้ลูกของเรากล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีในการช่วยฝึกให้ลูกกล้าแสดงออก

การสร้างแรงเสริมด้วยการสนับสนุนจากพ่อแม่

  • การหากิจกรรมให้ลูกพบความสามารถหรือจุดเด่นของตนเอง ได้พบเพื่อนและสร้างความผ่อนคลายไปด้วย เช่น การทำหรือเรียนกิจกรรมศิลปะ กีฬา ดนตรี แบบเป็นกลุ่ม
  • การให้ลูกได้พบ ได้เล่นกับเด็กกล้าแสดงออก มีมนุษยสัมพันธ์ดีบ่อยๆ จะทำให้เด็กได้เห็นวิธีการสร้างสัมพันธภาพและเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านี้ได้ง่ายกว่าการบอกหรือสอนโดยผู้ใหญ่
  • การให้โอกาสลูกในการฝึกสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การผูกสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องอาศัยคุณพ่อ คุณแม่ในการหยิบยื่นโอกาส พาลูกออกไปเจอโลกภายนอก ให้ลูกได้มีประสบการณ์ร่วมกับเด็กหรือผู้ใหญ่นอกครอบครัวบ่อยๆ
  • เด็กวัยอนุบาลนิสัยต่างๆ เริ่มพัฒนามาเป็นบุคลิกภาพ และเด็กๆ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น การแสดงความต้องการ หรือการปฏิเสธอะไร จะมีความชัดเจน มีจุดยืน ไม่ถูกโน้มน้าวให้เปลี่ยนใจได้ง่ายๆ เหมือนสมัยเล็กๆ

การรักษาอาการขี้อาย

อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่เริ่มกังวลกับปัญหาลูกที่เป็นเด็กขี้อาย หรือนิสัยขี้อายของลูกส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน และการเข้าสังคม เช่น ไม่ยอมอยู่ห่างจากพ่อแม่ ไม่มีเพื่อน มีอาการเครียดหรือวิตกกังวลเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีคนแปลกหน้า ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษา เนื่องจากเด็กที่มีนิสัยขี้อายอาจสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง (Self Esteem) มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือแยกตัวออกจากสังคม

วิธีรักษาอาการขี้อายที่อาจนำมาใช้ ได้แก่ การบำบัดแบบกลุ่ม (Group Therapy) การจัดการกับความเครียดและวิตกกังวล การเรียนรู้วิธีผ่อนคลาย (Relaxation Techniques) และการฝึกทักษะทางสังคม (Social Skills Training)

นิสัยขี้อายอาจพบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งอาจเกิดจากอุปนิสัยของตัวเองหรือการเลี้ยงดูของพ่อแม่ พ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการเอาใจใส่และสนับสนุนให้ลูกมีความกล้าอย่างเหมาะสม หากพ่อแม่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและเสริมความมั่นใจให้ลูกได้ด้วยตัวเอง การปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำอาจช่วยให้พ่อแม่รับมือกับปัญหาลูกขี้อายได้ดีขึ้น และทำให้ลูกสามารถใช้ชีวิตต่อไปในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

การส่งเสริมให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเด็กขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าตัดสินใจ ให้กลายเป็นเด็กที่กล้าคิด กล้าที่จะทำในสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเอง กล้าเผชิญหน้ากับคนในสังคม สุดท้ายแล้วหากลูกยังขี้อายอยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งละความพยายาม ค่อยๆ ให้ลูกเริ่มต้นใหม่อีกครั้งตามวิธีที่เคยทำมา อย่าลืมผ่อนปรนให้ลูกดำเนินชีวิตไปตามธรรมชาติบ้าง การเป็นเด็กขี้อายบางครั้งก็น่ารักดี

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ zerryzweb.com

สนับสนุนโดย  ufabet369